โรคในไก่ชน และวิธีการรักษา

หน้าแรก »ยาไก่ชน » โรคในไก่ชน และวิธีการรักษา

ไก่ชนก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเจ็บป่วยได้เหมือนสัตว์ทั่วไป  เวลาเลี้ยงนั้นผู้เลี้ยงก็ต้องใส่ใจดูแล ทั้งป้องกันโรคและวิธีการรักษาหากเกิดการเจ็บป่วย  ดังนั้น เรามีมารู้จักโรค อาการ และวิธีการรักษาและป้องกันโรคที่พบในไก่ชนกันเลยค่ะ

โรคหวัด

อาการ  :  จาม  มีน้ำมูก  หายใจลำบาก

การรักษา  : ให้ยาเอวีซิน บี12 3เอ็กซ์ ละลายน้ำให้ไก่กิน 8 กรัม/น้ำ 1 ลิตร กินติดต่อกัน 3-5 วัน ถ้ายังไม่หาย ให้ฉีดยาลินโคสเปคตินชนิดฉีดปริมาณ 0.5 ซีซี/น้ำหนักตัวไก่ 3 กิโลกรัม

การป้องกัน  :  ให้ยาเอวีซิน บี12 3เอ็กซ์ หรือยาลินโคสเปคตินชนิดผง 4 กรัม/น้ำ 1 ลิตร กินติดต่อกัน 3 วันในช่วง 3 วันแรกเกิด

โรคคอครอก

อาการ  :  มีเสียงเสลดในลำคอเวลาหายใจ ส่วนใหญ่มักนอนในที่สูง หรือที่โล่งๆ หรือเจอในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง
การรักษา  :  ให้ยาเอวีซิน บี12 3เอ็กซ์ โรยคอ ครั้งละ 1 กรัม ติดต่อกัน 3-5 วัน
การป้องกัน  :  จัดการสภาพการเลี้ยงให้ดี หรือให้ยาป้องกันในช่วงที่อากาศเปลี่ยน

ท้องเสีย (ขี้เขียว ขี้ขาว)

อาการ  :  เกิดจากติดเชื้อทางเดินหายใจ ทางเดินทางอาหาร หรือเกิดจากการบาดเจ็บหลังชน ทำให้แพร่เชื้อลงในกระเพาะอาหาร มีขี้ปนเมือก สีขาว และสีเขียว มักมีอาการอาหารไม่ย่อยร่วม
การรักษา  :  ให้ยาออกตามิกซ์ละลายน้ำให้ไก่กินติดต่อกัน 3-5 วัน ขนาด 8 กรัม/น้ำ 1 ลิตร

ตาเจ็บ

อาการ  :  บวมแดง มีน้ำตาไหล มีฟองอากาศ
การรักษา  :  ให้ยาลินโคสเปคตินชนิดผง ละลายน้ำให้ไก่กิน 3-5 วัน ขนาด 8 กรัม/น้ำ 1 ลิตร หรือใช้ยา Terramycin ป้ายตา 3 วันติดต่อกัน ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้ฉีดยาลินโคสเปคตินชนิดฉีด ปริมาณ 0.5 ซีซี/น้ำหนักตัวไก่ 3 กิโลกรัม

เหน็บเสี้ยน

อาการ  :  เกิดจากการกดทับบริเวณข้อพับเป็นเวลานาน มักเกิดกับไก่ที่มีอายุมากและน้ำหนักมาก ไก่จะมีอาการเส้นยึด ยืนเดินลำบากเนื่องจากเส้นเอ็นอักเสบ
การรักษา  :  ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ และทายาไดโปรซาลิคบริเวณข้อพับทุกๆ วัน

คอดอก

อาการ  :  เกิดเกล็ด หรือดอกสีขาวบริเวณหลอดอาหาร ช่องปากมีกลิ่นเหม็น ชอบอ้าปากหายใจ
การรักษา  :  ปลิ้นกระเดือกเอาเกล็ด หรือดอกสีขาวออก ใช้ยาเจนเชี่ยนไวโอเลตป้ายบริเวณแผล หรือใช้ยาเจนเชียนไวโอเลต ปั่นคอ เช้า-เย็น

อุ้งเป็นหน่อ ตาปลา

อาการ  :  มีหน่อหรือตาปลาบริเวณอุ้งเท้า เดินลำบาก
การรักษา  :  รักษาตามอาการ ทำความสะอาดบริเวณอุ้งเท้า เช้า -เย็น ปิดแผลด้วย พลาสเตอร์ยา จนแผลหายสนิท

ข้อแนะนำในการใช้ยา

  1. ยาปฏิชีวนะ ใช้ในกรณีที่มีการป่วยเท่านั้น และไม่ควรใช้เกินกำหนดอายุ
  2. การใช้ยา จะต้องมีการลงบันทึกในใบรายงานทุกครั้ง เช่น Lot. No. ปริมาณและผู้ใช้ยา
  3. ยาชนิดฉีด ต่างชนิดกันให้แยกไซริงค์ที่ใช้
  4. อุปกรณ์การฉีดยา ควรนำไปนึ่งฆ่าเชื้อ และตรวจสอบสภาพก่อนนำไปใช้
  5. เลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรค
  6. ใช้ขนาดที่ถูกต้อง
  7. ใช้ความถี่ที่ถูกต้อง
  8. เก็บรักษาในที่ แห้ง ร่ม เย็น มีฉลากบอกวิธีการใช้
  9. อุปกรณ์ที่ให้ควรทำความสะอาดก่อนและหลังใช้งาน
  10. กรณียาที่เป็นผงจะต้องละลายให้หมด