โรคฝีดาษไก่

หน้าแรก »ไก่ชนไทย » โรคฝีดาษไก่

โรคนี้พบในไก่เล็กและไก่รุ่น  หากมีการระบาดจะเสียหายรุนแรงมาก  ไก่ที่หายจากโรคนี้อาการที่เหลือคือแคระแกร็น  ไม่เจริญเติบโต  อาการที่พบหลังจากไก่ได้รับเชื้อโรคแล้วประมาณ  1  อาทิตย์  จะแสดงอาการเป็น 2 ลักษณะ  คือ

ลักษณะแรก

ไก่จะเกิดตุ่มฝีดาษลักษณะคล้ายหูด  เกิดขึ้นตามผิวหนัง  บริเวณที่ไม่มีขน  เช่น  ใบหน้า  หงอน  เหนียง  หนังตา  และขา  ระยะแรกจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ จากนั้นจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น  ที่หัวของฝีเป็นแผลมีสะเก็ดสีน้ำตาลปิดอยู่  ต่อมาจะแห้งและหลุดไป

ลักษณะที่  2

ไก่เป็นตุ่มฝีดาษชนิดที่เป็นแผลเกิดขึ้นในลำคอทำให้กินอาหารลำบาก  น้ำลายไหลยืด  มีกลิ่นเหม็นมาก  จะทำให้ไก่ตายในช่วงนี้

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส  ติดต่อทางบาดแผล  เช่น  แผลจากการจิกตีกันในฝูง  ยุงถือว่าเป้นพาหะสำคัญมากที่สุดตัวหนึ่ง  การป้องกันนั้น  ไก่เล็กควรระวังไม่ให้ยุงกัด  ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนทาตามตุ่มที่ฝีเกิดขึ้น  เพื่อลดการอักเสบของฝี  และใช้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กิน

การทำวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ  ใช้เข็มแทงปีกโดยแทง  1  ครั้ง  กับไก่อายุ  1  อาทิตย์ขึ้นไป  ไก่จะมีภูมิคุ้มกันโรคได้นาน  1  ปีขึ้นไป