คุณพรชัย พานทอง หรือ หมออู ผู้จัดการฟาร์มไก่ชน “ไร่แสงดาว” จังหวัดนครราชสีมา ได้แชร์ประสบการณ์ให้ฟังว่าในอดีตการเลี้ยงไก่ชนค่อนข้างแคบ จำกัด อยู่ในเฉพาะผู้ชื่อชอบจริงๆ ซึ่งในตำบลหรืออำเภอหนึ่งจะมีผู้เลี้ยงอยู่เพียงไม่กี่ราย และเมื่อนำไปออกชนก็จะเลือกสนามที่ตัวเองรูักและอยู่ไม่ไกลมานัก ทำให้มีมุมมองในการเลี้ยงไม่ค่อยกว้างไกลนัก การพัฒนาพันธุ์ไก่ชนของแต่ละคนจึงเป้นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
แต่ในช่วงประมาณสัก 5-6 ปีมานี้ ด้วยระบบการสื่อสารผ่านทางออนไลน์ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งแอพพลิเคชัน ไลน์ เฟซบุ๊ค รวมทั้งยูทูป ซึ่งมีความสำคัญกับวงการไก่ชนอย่างมาก เพราะทำให้ผู้ที่เลี้ยงไก่ชนแต่ละพื้นที่สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร และความเคลื่อนไหวด้านไก่ชนได้ตลอดเวลา สนามไหนตีเดิมพันเท่าไหร่ ไก่ตัวไหนจากซุ้มอะไรเป็นฝ่ายชนะ และชนะแบบไหนสามารถรับรู้ได้ทันที ผู้เลี้ยงก็มีวิสัยทัศน์และมุมมองกว้างขึ้น กระตุ้นให้ต้องเร่งพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนของตนเอง เพื่อที่จะได้สู้กับคนอื่น ๆ ได้ หรือพัฒนาไปตามแนวทางที่ตลาดกำลังให้ความสนใจ โดยการติดต่อขอซื้อลูกพันธุ์จากไก่ตัวที่เห็นว่าดีหรือที่ชนะมา หรือถ้ามีทุนมากหน่อยก็ซื้อตัวที่ชนะนั้นมาเลยก็ได้ ทำให้สามารถพัฒนาพันธุ์ของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน การชนไก่แต่ละครั้ง ของแต่ละสนาม โดยเฉพาะสนามใหญ่ ๆ นอกจากมีผู้ชนในสนามแล้ว ยังมีการถ่ายยทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยเพจต่างๆ ที่เกี่ยวกับไก่ชน ทำให้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถติดตามได้ ซึ่งบางครั้งไม่เฉพาะแค่ในประเทศเท่านั้น กล่าวได้ว่าเห็นไปทั่วโลกเลยด้วยซ้ำ ตรงนี้นี่เองเป้นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เกิดการซื้อของตามมา ไก่ตัวไหนที่เก่ง หรือตีเข้าตา ผู้สนใจก็สามารถติดต่อได้ทันที ส่งผลให้วงการไก่ชนมีความคึกคักมากขึ้น
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้วงการไก่ชนดูคึกคักมากขึ้นและไม่กระจุกอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเหมือนอย่างอีดนั้นเป้นเพราะว่าระเบียบของกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้แต่ละสนามสามารถเปิดชนไก่ได้เดือนละ 2 ครั้ง ทำให้แต่ละสนามเลือกเปิดในวันที่ไม่ตรงกัน อย่างเช่นสนามชนไก่มหาลาภ สนามชนไก่ขนาดใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา เปิดเฉพาะวันเสาร์ที่ 1 และวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ซึ่งก็มีไก่มาชนกันใน 2 วันนี้เท่านั้น สนามอื่น ๆ ก็เลือกเปิดวันอื่นหมุนเวียนกันไป
ที่สนามเทิดไท กรุงเทพฯ ซึ่งถือว่าเป็นสนามชนไก่ที่ใหญ่และผู้คนให้ความสนใจเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เมื่อก่อนเปิดชนได้ทุกสัปดาห์ รวม 4 ครั้ง ต่อเดือน เหล่าบรรดาเซียนไก่และซุ้มต่างๆ ก็จ้องที่จะมาชนไก่กันที่สนามแห่งนี้ เพราะเป็นสังเวียนใหญ่ที่ผู้คนให้การยอมรับ ไก่ที่มาชนะที่นี่ได้ก็ทำให้มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก ทั้งตัวไก่เอง และซุ้มที่เลี้ยง ที่สำคัญไก้ค่าตัวที่สูงขึ้นด้วย และยิ่งถ้าชนะสวย ๆ ต่อหน้าคนจำนวนมาก ก็ทำให้มีราคาค่าตัวที่เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้สนามเล็กๆ ตามต่างจังหวัด ไม่ค่อยมีไก่เข้าไปชนมากนัก
แต่ปัจจุบันสนามเทิดไท เปิดชนเพียงเดือนละ 2 ครั้งเท่านั้น คือ วันอาทิตย์ที่ 1 และวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือน สนามอื่น ๆ ที่เปิดชนไม่ตรงกันก็ทำให้มีไก่เข้ามาชน สนามเล็ก ๆ จึงกลับมาได้รับความนิยมขึ้นมาอีกครั้ง เพราะมีไก่เข้ามาชนสลับกับสนามใหญ่ตลอด และสนามเล็ก ๆ เหล่านี้นี่เอง ก็เป็นเหมือนสังเวียนคัดเลือกไก่เก่งแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัด พอชนะสัก 2-3 ครั้งที่สนามเล็ก ๆ ก็ถูกดันให้ขึ้นมาชนที่สนามใหญ่ด้วยเงินเดิมพันที่สูงขึ้น
ในแต่ละสัปดาห์ สนามชนไก่ใหญ่ ๆ มีไก่เข้ามาชนไม่ต่ำกว่า 30-40 คู่ หากไก่ตัวไหนที่ชนะสวย ๆ ด้วยเงินเดิมพันแพง ๆ ก็จะมีชื่อเสียงและเป้นที่กล่าวถึงอย่างรวดเร็วที่สำคัญเป็นที่ต้องการของบรรดาผู้เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ทำให้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งแต่ละเดือนจะมีไก่ชนที่ชนะแล้วได้ค่าตัวหลักล้านอยู่ตลอด อย่างช่วงเดือนที่ผ่านมา (มกราคม 2560) ที่สนามชนไก่เทิดไทมีไก่ชนราคาหลักล้านเกิดขึ้นถึง 2 ตัว ซึ่งตัวหนึ่งเป้นไก่มาจากจังหวัดชลบุรี ถูกซื้อไปจันทบุรี ถูกซื้อไปในราคา 2.5 ล้านบาท และอีกตัวหนึ่งเป็นไก่ชนจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีคนซื้อไปในราคา 1.2 ล้านบาท ตรงนี้ก็เป้นสิ่งบ่งชี้ถึงกระแสความนิยมและพัฒนาการไก่ชนของไทยได้เป็นอย่างดี