ซุ้มไก่ชน เทคนิคง่ายๆ เลี้ยงยังให้ก็รวย?
จับเงินล้านไม่ใช่เรื่องยาก เปิดธุรกิจซุ้มไก่ชน ในปัจจุบัน จริงๆขอเกริ่นก่อนว่ายุคสมัยเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจก็ต้องเปลี่ยนตาม คนเลี้ยงไก่ชนก็ไม่ต่างกัน ที่พัฒนาจากความชอบกลายเป็นธุรกิจซุ้มไก่ชน หากเลี้ยงได้ถูกต้อง มีแบบแผน มีระบบ และการวางแผนบัญชีที่ดี รับรองเงินล้านอยู่ไม่เกินฝัน ซึ่งบทความนี้คือแนวทางการการจับธุรกิจซุ้มไก่ชน ที่ไม่ใช่แค่เพื่อการกีฬาเพียงอย่างเดียว
ซุ้มไก่ชนที่แห่งต้องเริ่มจาก การจดบัญชีรับจ่าย : ในช่วงแรกของการลงทุนอาจมีต้นทุนที่สูง โดยขึ้นอยู่กับเศษฐกิจ ค่านิยม จำนวนไก่ และปัจจัยอื่นๆ ทุกอย่างนี้ต้องมีการจดบันทึกเพื่อคำนวณกำไลในอนาคต
จำนวนแม่พันธุ์ในซุ้มไก่ชนและจำนวนลูกไก่ชน : โดยต้องมีความสอดคล้องจำนวนแม่ไก่ที่ให้กำเนิดลูกไก่เพื่อนำมาทำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ต่อไป ในส่วนนี้จะมีผลกระทบไปถึงเรื่องค่าอาหาร ค่ายารักษาโรค ที่สิ้นเปลืองเกินความจำเป็น หรือในด้านการตลาดลงทุนสูงแต่ผลผลิตน้อย ยอดการซื้อขายอาจไม่ตรงตามเป้าหมาย
แบ่งรุ่นลูกไก่ชนตามระยะเวลา : คือการอนุบาลลูกไก่ ไก่ชนจะแตกต่างกับไก่ไข่ ไก่เนื้อ เพราะต้องได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษ หากบางตัวมีลักษณะดีครบถ้วน รูปร่างสวย ต่อสู้เก่ง อาจต่อยอดไปในด้านการกีฬา ประกวดความสวยงาม หรือขายในราคาที่สูงต่างจากต้วอื่นๆ
การลดต้นทุนค่าอาหาร : โดยการกึ่งปล่อยกึ่งขัง แต่ด้วยซุ้มไก่ชนแต่ละที่มีการจัดการบริเวณโดยรอบๆ ที่แตกต่างกัน ข้อนี้อาจจะนำไปใช้ไม่ได้ทุกซุ้มไก่ หากซุ้มไก่ชนไหนมีรั่วรอบคอบชิดไม่มีสุนัขเข้ามากวนสามารถเลี้ยงแบบกึ้งปล่อยกึ่งขุงได้ โดยธรรมชาติไม่ว่าไก่ชน ไก่เนื้อ หรือไก่ทั่วๆไปมีสันชาติญาณการหากินเองเป็นอยู่แล้ว เราอาจเน้นให้อาหารบำรุงนานๆครั้ง อาหารทั่วไปนิดหน่อย ส่วนเพิ่มเติมไก่ชนก็จะหากินเอง
*แต่ต้องหมั่นทำความสะอาดบริเวณในและนอกกรง รวมถึงภาชนะใส่น้ำใส่อาหาร เพราะสิ่งสกปรกคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรค
สายพันธุ์ที่ซุ้มไก่ชนเลือกเพาะ : ไก่ชนแต่ละสายพันธุ์รูปร่างความสวย อุปนิสัย เสน่ห์ที่แตกต่างกัน เชื่อว่าเหล่าคนรักไก่ชนก็ชื่นชอบไก่ชนทุกสายพันธุ์ แต่การดำเนินธุรกิจซุ้มไก่ชนต้องเลือกสายพันธุ์ที่สามารถทนต่อสภาพอากาศของเมืองไทยได้ โดยมีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นตามเป้า พร้อมพัฒนาความสวย ความเก่ง ให้ไก่ชนในซุ้มมีคุณภาพอยู่เสมอ
หาความรู้พัฒนาเทคนิค พร้อมป้องกันโรคในซุ้มไก่ชน : ที่พึ่งแรกของซุ้มไก่ชนก็คือ ปศุสัตว์จังหวัด เพราะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่พร้อมให้ความรู้แก่เกษตรการ เนื่องจากภายในหน่วยงานจะมีผู้มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยแนะนำเทคนิค วิธิการป้องกันโรคได้ รวมไปถึงให้คำแนะนำแหล่งอาหารที่ดีและถูกแก่ผู้เลี้ยงไก่ชน นอกจากนี้ผู้ที่จับธุรกิจซุ้มไก่ชนยังเสาะข้อมูลดีๆผ่านหน้าอินเตอร์เน็ตได้ทุกเมื่อ หรือขอคำแนะนำจากผู้มีความรู้ประสบการณ์ด้านไก่ชนทั้งในและนอกประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาซุ้มไก่ชนของตนเอง
และสุดท้าย ค่าใช้จ่ายระหว่างรุ่น : เป็นค่าใช้จ่ายยิบย้อยที่ส่วนมากต้องจ่ายทุกวัน ยิ่งถ้าหากคุณมีซุ้มไก่ขนาดใหญ่เชื่อว่าคุณคนเดียวคงจัดการเองทั้งหมดไม่ไหวแน่นอน การหาคนงานมาช่วยแบ่งเบานั้นก็คือทางออก โดยคนงาน 1 คน ต้องรับผิดชอบดูแลไก่ได้ 200 – 300 ตัว รายได้ต่อวันอยู่นี้ลูกจ่ายกับนายจ้างตกลงกันวาสมน้ำสมเนื้อกันมากน้อยแค่ไหน ทางซุ้มไก่ก็จะไม่โดนเอาเปรียบ
หวังว่าความเกร็ดความรู้เล็กๆ ในบทความนี้ จะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ชนนะคะ