คนเลี้ยงไก่ชนทุกคนล้วนต้องการให้ไก่ของตนตีเก่ง ซึ่งนอกจากมีการคัดเลือกตามลักษณะดังกล่าวมาอย่างครบถ้วนแล้ว สิ่งสำคัญคือการทะนุบำรุงเลี้ยงดูรวมถึงการฝึกซ้อมอย่างถูกวิธีด้วย ซึ่งผู้เลี้ยงต้อมีความรู้ความชำนาญกับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
ไก่ชนมีนิสัยชอบการต่อสู้มาแต่กำเนิด ยิ่งไก่ที่มีการคัดเลือกสายพันธุ์มาแล้วเป็นอย่างดีจะแสดงนิสัยการเป็นนักสู้ตั้งแต่ยังเล็กๆ คือ เริ่มตั้งแต่อายุ 1-2 เดือน ก็มักจิกตีกับไก่ในกลุ่มเดียวกัน หรือคนละกลุ่มอยู่เนืองๆ ซึ่งระยะนี้ผู้เลี้ยงสามารถปล่อยให้ไก่ได้จิกตีกันพอสมควร แต่ก็ต้องคอยดูแลให้อยู่ในสายตาตลอดเวลา มิฉะนั้นไก่จะต่อสู้กันมากเกินไป ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ร่างกายทรุดโทรมหรือชะงักการเจริญเติบโตได้
เมื่อไก่ชนเจริญเติบโตขั้นเป็นไก่วัยรุ่น ต้องทำความคุ้นเคยและฝึกไก่ให้เชื่อง พอไก่ชนมีอายุ 6-7 เดือน เสียขันจะชัด หงอนเริ่มแดงจัด และทับตัวเมียได้แล้ว มาถึงระยะนี้จะต้องเริ่มให้อาหารบำรุง อาบน้ำบริหารลำตัวให้ไก่ได้ออกกำลังอย่างจริงจังเพื่อให้ร่างกายแข็งแกร่ง ทนต่อความเจ็บปวด ตลอดจนต้องฝึกซ้อมชั้นเชิงการต่อสู้ เพื่อให้เป็นไก่ชนยอดนักสู้ที่สมบูรณ์และแข็งแกร่งพร้อมที่นำเข้าชนในสังเวียนได้
การทะนุบำรุงเลี้ยงดูและการฝึกฝนไก่ชน อาจจะมีวิธีการบางอย่างแตกต่างกันออกไปบ้างแล้วแต่ความเชื่อของผู้ฝึกหรือเจ้าของแต่ละคน แต่มีหลักการใหญ่ ๆ คล้ายกันดังนี้ โดยไก่ชนที่จับจากฝูงออกมา สิ่งแรกคือนำมาขังสุ่มเอาไว้ เพื่อให้ไก่ได้ปรับตัวและเกิดความคุ้นเคยกับผู้เลี้ยง ซึ่งสุ่มถือเป็นอุปกรณ์สำคัญของการเลี้ยงไก่ชน ที่ต้องใช้ตลอดการเลี้ยง โดยในอดีตสุ่มทำจากไม้ไผ่ ซึ่งการสานสุ่มของคนในสมัยโบราณเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มีการเลือกไม้ไผ่สีสุกซึ่งเป็นไม้มงคล เลือกวันและเวลาที่ไผ่ต้นนั้นเกิด รวมทั้งมีการตัดเพื่อให้ได้ขนาดแล้วนำมาจักเป็นตอกตามจำนวนที่เหมาะสม ก่อนที่ลงมือสานเป็นสุ่มที่กลมกลึงพร้อมทั้งมีลวดลายต่างๆ ตามวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นที่ดูงดงาม ซึ่งใช้เลี้ยงไก่ชนตั้งแต่อดีตกระทั่งปันจุบัน
นอกจากสุ่มไม้ไผ่แล้วทุกวันนี้มีสุ่มที่ทำจากโครงเหล็ก ปิดล้อมด้วยตาข่ายอวน ซึ่งก็เป็นที่นิยมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งยังมีการออกแบบให้สามารถพับได้ รวมทั้งมีช่องเปิดจากด้านบน ซึ่งทำให้จับไก่ที่อยู่ในสุ่มได้ง่ายกว่า และราคาก็สูงกว่าสุ่มไม้ไผ่ธรรมดาไม่มากนัก ทำให้มีการใช้อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน
ไก่หนุ่มที่จับจากฝูงมาขังสุ่ม สิ่งแรกที่ต้องทำคือ “การเช็ดน้ำหรือกราดน้ำ” ก็เหมือนเป้นการอาบน้ำทำความสะอาด และเป็นขั้นตอนการทะนุบำรุงเลี้ยงดูที่สำคัญและต้องดูแลอย่างใกล้ชิด การอาบน้ำจะช่วยให้ไก่ชนมีกล้ามเนื้อแข็งแกร่ง มีสุขภาพแข็งแรง และช่วยให้ไก่ปลอดภัย จากการรบกวนของเหา ตัวหมัด ริ้น และยุง โดยอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเช็ดน้ำไก่ก็มี ม้านั่ง ผ้าหรือฟองน้ำ ขนไก่หยอนคอ ขันนั้น หม้อต้มน้ำ โดยน้ำที่ใช้เช็ดหรือกาดน้ไก่ก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละที่ ซึ่งมีทั้งน้ำเปล่าธรรมดา น้ำอุ่น ตลอดจนน้ำสมุนพร ก็มีเหตุผลของการใช้ที่แตกต่างกันไป
สำหรับผ้าที่ใช้เช็ดน้ำควรมีความอ่อนนุ่มและทำความสะอาดได้ง่าย ส่วนใหญ่นิยมใช้ผ้าขาวบางมาตัดให้ได้ขนาด ก่อนนำมาเช็ดมีวิธีการพับเพื่อให้นำผ้ายืดออกเป็นแนวยาว จากนั้นก็พับครึ่งลงมาแล้วก็พับครึ่งอีกครึ่งหนึ่ง ก็ทำให้ได้ผ้าที่มีลักษณะพับไปมา จากนั้นหาขอบชายผ้าด้านใดด้านหนึ่งแล้วก็ได้ผ้าพร้อมที่นำไปเช็ดน้ำไก่แล้ว
การเช็ดน้ำไก่ชนจะเริ่มทำให้ตั้งแต่ไก่ชนมีอายุ 7-8 เดือนขึ้นไป สำหรับการเช็ดน้ำเริ่มจากนั่งลงบนม้านั่งให้ถนัด นำไก่มาไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง สามารถใช้ขาบังคับให้ไก่ไม่ติดหรือจัดท่าทางตามที่ต้องการได้ โดยเริ่มจากใบหน้า ปาก หัว ไล่เรื่อยมาที่สร้อยคอหลัง หน้าอก ใต้ปีก โคนหาง ปั้นขอ ท้อง แข้ง และเท้า ให้ไก่สะอาดที่สุด การเช็ดน้ำให้ไก่ชน ต้องเช็ดให้เปียกทุกรูขุมขนทั่วทั้งลำตัว ยกเว้นส่วนขนปีกและขนเท่านั้นที่ไม่ให้สัมผัสโดนน้ำ เสร็จแล้วก็ใช้ขนไก่ชุบน้ำแล้นำมาหยอนคอ หมุน 2-3 รอบ เพื่อให้เสลดที่อยู่ในลำคอออก จากนั้นก็นำไปครอบสุ่มไว้กลางแดด เพื่อให้ใช้ทำความสะอาดขนของตนเอง ซึ่งตลอดการเลี้ยงต้องเช็ดน้ำในลักษณะนี้ไปตลอด
ผู้เลี้ยงไก่บางคนที่ยังไม่ชำนาญมาก เช็ดเปียกเฉพาะด้านนอก คือเปียกเฉพาะปลายขนแต่ไม่เปียกถึงโคนขน ตรงนี้เป้นอันตรายสำหรับไก่มาก เพราะเมื่อนำไปตากแดด นำไปซ้อมปล้ำ รวมถึงออกชน ทำให้ไก่มีอาการหอบมาก ภาษาไก่ชนเรียกว่า “พล่าน้ำ” ซึ่งอาการไก่พล่าน้ำนี้จะหอบมากและจะไม่ค่อยตีไก่ หรือตีก็จะไม่เต็มที่ เพราะไก่หอบมากและจะมีเสียงหอบดังกมาก เมื่อเช็ดน้ำให้เปียกทุกรูขุมขนแล้วก็ต้องมาเช็ดให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ไก่ขนแห้งก็ใช้ผ้าผืนเดิมเช็ดเนื้อเช็ดตัวให้แห้ง ไม่ใช่ปล่อยให้ตัวเปียกน้ำอยู่อย่างนั้น
ขณะเดียวกันต้องมีการบริหารร่างกาย โดยการบริหารร่างกายให้ไก่ชนต้องทำหลังจากการอาบน้ำแล้ว ในขณะที่ร่างกายของไก่ยังหมาดๆ อยู่ โดยทั่วไปมักใช้วิธีนวดเฟ้าตามอวัยวะส่วนต่างๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแกร่ง ทนทานต่อสู้ได้ โดยเริ่มทำตั้งแต่ไก่ชนมีอายุ 6-7 เดือน ควบคู่กันไไปกับการอาบน้ำไก่ทุกครั้ง
บริหารลำคอ วิธีบริหารลำคอทำได้ 2 วิธี คือ วิธีแรกให้ผู้ฝึกนั่งคุกเข่าข้างหนึ่งชันขึ้น หรือนั่งยองๆ เอามือซ้ายโอบรวบตัวไก่ให้แนบชิดกับลำตัว ใช้มือขวาจับตรงคอบริเวณต่อกับหัวแล้วดึงยืดหัวไปทางซ้ายเป็นจังหวะถี่ๆ ประมาณ 25 ครั้ง แล้วดึงยืดหดไปทางขวาอีก 25 ครั้ง ทำสลับซ้ายขวาเช่นนี้ประมาณข้างละ 4-5 ยก เป็นอย่างน้อย อีกวิธีกหนึ่งให้ผู้ฝึกนั่งเหมือนวิธีแรก โดยให้ตัวไก่อยู่ระหว่างขา และหันหน้าไปทางเดียวกันกับตน ใช้มือซ้ายจับกุมที่ต้นคอของไก่พอหลวมๆ ส่วนมือขวานวดขยำและเฟ้นลำคอตั้งแต่โดนคอขึ้นไปถึงหัว การนวดขึ้นนวดลงคราวละประมาณ 20 ครั้ง ขณะที่นวดควรหมุนคอไก่ไปรอบๆ เพื่อให้การเคลื่อนไหวของลำคอคล่องตัว ทำแบนี้อย่างน้อยวันละ 20 นาที
การบริหารปีก ให้โอบตัวไก่เข้าหาซอกเข่าของผู้ฝึก ใช้มือซ้ายจับที่โคนปีก ข้างหนึ่งพอหลวมๆ กระดกมือยกปีกขึ้นเล็กน้อย แล้วใช้มือขวาบีบนวดบริเวณโคนปีกเรื่องไปจนถึงปลายปีก นวดสลับกันไปมาทั้งปีกซ้ายและขวา ในขั้นแรกควรใช้เวลาประมาณ 3-4 นาทีแล้วค่อยเพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ
การเช็ดน้ำไก่ชนไม่ว่าจะเป็นการเช็ดน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น ใช่ว่าจะทำได้เสมอไปทุกวัน เพราะในธรรมชาติไก่เป้นสัตว์ที่ไม่ชอบน้ำอยู่แล้ว ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมตามเวลาหรือฤดูกาล จึงจะไม่บั่นทอนสุขภาพของไก่ ที่สำคัญคือเมื่อเช็ดน้ำเสร็จแล้วต้องให้ไก่ได้รับแสงแดดอ่อนๆ อยู่เสมอ ตามปกติการอาบน้ำไก่มักทำกันในตอนเช้าตรู่ แต่ถ้าเป้นหน้าหนาวต้องเลื่อนเวลาออกไปเป็นตอนสาย หากวันใดอากาศหนาวจัดก็ควรงดอาบน้ำเสีย ส่วนในหน้าฝนไม่ควรเช็ดน้ำไก่ชน โดยเฉพาะในวันที่มีฝนตก
“การกราดแดด” ในช่วงนำไก่มาทะนุบำรุงเลี้ยงฝึกฝนและฝึกซ้อมชั้นเชิง ในวันใดไม่มีการซ้อม หลังจากให้น้ำในตอนเช้าแล้ว จะต้องกราดแดด ซึ่งช่วยให้ไก่เหี้ยมเกรียมและเป็นการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะถ้าปล่อยให้ไก่ชนมีน้ำหนักหรืออ้วนมากในทางตรงกันข้ามถ้าไก่ชนมีน้ำหนักน้อยเกินไป ก็จะต้องเพิ่มการขุนเลี้ยงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น การกราดแดดไม่ควรกราดนานเกินไปจนไก่กรอบ เมื่อสังเกตเห็นว่าไก่มีอาการหอบก็นำกลับมาไว้ในร่ม พร้อมกับพรมน้ำให้ความร้อนบนผิวกายไก่คลายตัวลง
เมื่อเรากราดน้ำไก่เสร็จก็นำไก่ไปกราดแดดให้ไก่ขนแห้ง และให้ไก่หอบพอประมาณไม่ต้องให้ไก่หอบมาก โดยเฉพาะไก่หนุ่ม ไม่ควรกราดแดดมากเกินไปเพราะไก่จะ “โพก” ไม่ตีไก่ หมายถึงเนื้อมันจะไม่แน่ไปหมดจะไม่แข็งแรงสมบูรณ์ การกราดแดดนั้นให้สังเกตอาการของไก่เป็นหลัก ถ้าไก่ขนแห้งและหอบ ก็ให้นำไก่เข้าร่มได้ ก่อนเข้าร่มก็ต้องหยอนคอเอาเสลดออกก่อน แต่อย่าเพิ่งให้กินน้ำเพราะไก่ยังร้อนอยู่ ถ้านำน้ำให้กินเลยไก่อาจจะไม่สบายหรือเป้นหวัดได้ให้ไก่พักหายหอบและเหนื่อยก่อนประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยให้ไก่กินน้ำ
ใช้ช่วงที่ไก่กราดแดด จะให้ไก่กินข้าวด้วยก็ได้แต่จากนั้นก็ควรจะเก็บน้ำออกจากสุ่มไก่ในขณะที่ไก่กราดแดดอยู่ เพราะที่ให้ไก่กินข้าวในช่วงนั้นกว่าจะเก็บไก่เข้าร่มก็เป็นเวลาเกือบ 11.00 น. แล้ว กว่าไก่จะกินข้าวก็เกือบเที่ยง และช่วง 16.00-17.00 น. ก็ต้องให้ข้าวอีกครั้ง ซึ่งระยะเวลาเพียงเท่านี้ไก่ก็ยังอาจจะย่อยไม่หมด ไก่อาจจะไม่กินข้าวหรือกินข้าวน้อย ถ้าให้ข้าวช่วงที่กราดน้ำเสร็จแล้วนำไก่ไปกราดแดดนั้น ไก่จะย่อยอาหารได้ดีกว่า และจะสมบูรณ์แข็งแรงกว่าที่จะให้ไก่กินข้าวผิดเวลา เพราะว่าหลังจากที่เราหยอนคอเสร็จนำไก่เข้าร่มกินน้ำพอเพียง ก็ให้ไก่กินพวกแตงกว่าหรือผลไม้ตอนกลางวัน แตงกวาจะช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
หลังจากกราดแดดเสร้จก็นำไก่เข้าร่มให้พักผ่อน หรือปล่อยตาข่าวไ้ พอตกตอนเย็นบ่าย 2-3 โมงก็ควรเช็ดน้ำอีกครั้งหนึ่ง วันหนึ่งควรจะกราดน้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง ยิ่งไก่มีตารางจะออกชนเรื่องการเช็ดน้ำจะขาดไม่ได้เลย ไก่ที่เช็ดน้ำบ่อยๆ ร่างกายจะสมบูรณ์แข็งแรงกว่าไก่ที่ไม่เช็ดน้ำเลย เพราะถ้าร่างกายสะอาดโรคภัยก็จะไม่มี อาบน้ำเสร็จร่างกายสดชื่น สังเกตให้ดีไก่บางตัวจะชอบอาบน้ำมาก ยิ่งเช็ดน้ำและนวดคลึงเบาๆ ก็จะยืนนิ่งสบาย เวลาไปปล่อยคีกคะนองตีปีกก็แสดงว่าไก่สมบูรณ์แล้ว สามารถนำไก่ออกไปปล้ำทดสอบความเก่งได้แล้ว